วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปความลับของแสง




ความรู้ที่ได้รับ
ความสำคัญของแสง
                   เวลาฝนตกหนังๆเราจะมองเห็นข้างนอกได้ไม่ชัด และถ้าเกิดไฟฟ้าดับเราจะมองอะไรไม่เห็น พอไฟดับก็จะไม่มีแสงสว่าง ถ้าไม่มีแสงสว่างเราก็จะมองอะไรไม่เห็น
เรามองเห็นสิ่งต่างๆได้อย่างไร
                  แสงเป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นน้ำในทะเล แต่จะเป็นคลื่นที่มีความยาวของคลื่นสั้นมาก นอกจากนั้นแสงยังคลื่นที่ได้เร็วมากๆตั้ง 300,000 ต่อวินาที ซึ่งถ้าเราวิ่งได้เร็วเหมือนแสง เราจะวิ่งรอบโลกได้7 รอบภายใน 1วินาที
แสงช่วยในการมองเห็นได้อย่างไร
                   เพราะแสงจะส่องมาโดนวัตถุต่างๆและนอกจากแสงจะส่องมาโดนวัตถุแล้ว แสงยังจะต้องสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่ตาเราด้วย ซึ่งเท่ากับว่าตาของเราคือจอสำหรับรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุนั้นเอง
การเดินทางของแสง
                    แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงโดยไม่มีการเปลี่ยนทิศทางใดๆอย่างแน่นอน และแสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงไปยังวัตถุของแสงแล้วแสงนั้นจะสะท้อนมาเป็นเส้นตรงแบบเดิมเข้าสู่ตาเรา
วัตถุที่แสงสามารถผ่านไปได้
          1.วัตถุโปร่งแสง - แสงจะทะลุผ่านไปได้แค้บางส่วนเท่านั้น เราจึงมองเห็นวัตถุต่างๆที่อยู่ด้านหลังวัตถุโปร่งแสงได้ไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ้า พลาสติกสีขุ่นๆ
          2.วัตุโปร่งใส - แสงสามารถเดินผ่านไปได้ทั้งหมด ทำให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู๋ข้างหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส พลาสติกใส
วัตถุที่แสงไม่สามารถผ่านไปได้
         3.วัตถุทึบแสง - วัตถุนี้จะดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วจะสะท้อนแสงที่เหลือเข้าตาเรา ซึ่งเป็นวัตถุส่วนใหญ่ที่อยู่บนโลกของเรา เช่น หิน เหล็ก ไม้ และตัวเรา
ภาพกลับหัว
                   เพราะแสงเดินทางเป็นเส้นตรง เมื่อผ่านรูเล็กๆอย่างรูกระป๋อง ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพกลับหัว และที่ตาของเราก็จะมีรูเล็กๆ เราเรียกว่า "รูรับแสง" แล้วภาพที่ผ่านรูรับแสงที่ตาเราก็จะเป็นภาพกลับหัว และหลักการนี้ที่เรานำมาทำเป็นกล้องถ่ายรูป แต่ที่เรามองเห็นเป็นปกติก็เพราะว่า สมองของเรานั้นจะกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติ

     


   



บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 5

      วัน อังคาร ที่ 16 กันยายน 2557
     เวลาเข้าเรียน 14.10 - 17.30 น. 

ความรู้ที่ได้รับ
         - อาจารย์ให้นักศึกษาตอบชื่อเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยมาคนละ 1 เพลง โดยไม่ซ้ำกัน
           - อาจารย์ได้ให้เพื่อนออกมานำเสนอบทความของตัวเอง
 คนแรก =  เรื่องหลักสูตรวิทยาศาสตร์
 คนที่สอง = เรื่องสอนลูกเรื่องพืช 
                1.พาลูกทำอาหารด้วยผัก
                2.พาลูกปลูกผัก
                3.พาลูกไปซื้อพืชพันธุ์ผัก
                4.พาลูกไปเที่ยวสวนพืช
การนำไปประยุกต์ใช้
               นำบทความของเพื่อนไปศึกษาหาเนื้อหาต่อ แล้วนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้กับเด็กปฐมวัย ให้เหมาะสมตามวัยของเด็ก
การประเมินผล
             ตนเอง = ตั้งใจเพื่อนที่ออกมานำเสนอ ไม่ส่งเสียงดังรบรวนเพื่อน
             เพื่อน = เป็นผู้ฟังที่ดี และ ออกมานำเสนอบทความของตัวเองได้อย่างชัดเจน
             อาจารย์ = ให้คำแนะนำ และส่งเสริมเพิ่มเติมเนื้อหาให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น










วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง
(Teaching Children about Gravity) 
ผู้เขียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง
(อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)
 


   การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้

ความสำคัญ

จะช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรปฐมวัย คือการส่งเสริมให้เด็กเกิดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสเรียนรู้ 
                ด้านอารมณ์  ได้ รับการตอบสนองความต้องการและความสนใจของเด็ก 
                   ด้านสังคม    ได้มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น รู้จักกฎ กติกา ระเบียบของสังคม 
               ด้านสติปัญญา รู้จักการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจและได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง
ประโยชน์
        1.เด็กจะได้รับประสบการณ์เรื่องแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของเด็ก จึงเป็นพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2.เด็กจะเกิดความตระหนักถึงคุณค่าของแรงโน้มถ่วง 
         3.เด็กจะได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากการฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องแรงโน้มถ่วง

ครูจัดกิจกรรมเรื่องแรงโน้มถ่วงผ่านกิจกรรมหลักทั้งหกในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ได้ดังนี้

    1. กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เช่นครูให้เด็กเคลื่อนไหวตามจังหวะ และแสดงท่าล้มลง  2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เน้นการทดลองหาคำตอบตามคำถามที่น่าสนใจ  3. กิจกรรมสร้างสรรค์ ครูอาจให้เด็กๆทำพวงแขวนจากวัตถุรอบตัว เช่น ฝักถั่ว ใบไม้แห้ง เปลือกหอย  4. กิจกรรมเสรี เล่นตามมุมต่างๆ  5. กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนามทุกชนิด  6. กิจกรรมเกมการศึกษา เล่นเกมลากเส้น ของที่หล่นจากที่สูงสู่พื้นดิน









วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 4


วันอังคาร ที่ 9 กันยายน 2557
  เวลาเข้าเรียน 14.10 - 17.30



 รูปแบบการเรียนรู้


         คือ การเรียนรู้ เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น
        การเล่น คือ เป็นวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เครื่องมือในการเรียนรู้ของเด็ก
* พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาก็จะเป็นคุณลักษะตามวัยของเด็ก
*เด็กเล็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นมากที่สุด




 ความรู้ที่ได้รับ
  




การนำไปประยุกต์ใช้
                         นำกิจกรรมและวิธีการสอนที่ถูกต้องนำไปใช้กับเด็กกปฐมวัยให้เหมาะสมตามพัฒนาการของเด็ก และส่งเสริมพัฒนาการที่ 4 ด้านของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การประเมินผล
               ตัวเอง = ตั้งใจทำงาน มีการจดบันทึกคำที่อาจารย์ได้อธิบาย เป็นผู้ฟังที่ดีและ แต่งกายเรียนร้อย     
               เพื่อน = ไม่ส่งเสียงดัง ตอบคำถามและร่วมแสดงความคิดเห็น แต่งกายเรียบร้อย
               อาจารย์ = อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ มีการใช้คำถามปลายเปิดแล้วให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม





บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 3



วันอังคาร ที่ 2 กันยายน 2557
  เวลาเข้าเรียน 14.10 - 17.30
ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรม "โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ" ที่ทางคณะได้จัดขึ้น ที่สนามกีฬาในร่ม 
              มีกิจกรรมหลายๆอย่างได้แยกเป็นฐานของแต่ละสาขาวิชา  ในโครงการนี้ให้ทั้งความรู้ และความสนุกสนานมากๆค่ะ





การนำไปประยุกต์ใช้
                 ใช้ในการกิจกรรมในการสอนเด็กปฐมวัยที่มีหลากหลายกิจกรรม จะช่วยให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้มากขึ้น จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อเด็กจะได้เกิดความกระตือรือร้นเกิดความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น
การประเมินผล
                ตัวเอง = มีความสนใจในการร่วมกิจกรรมตามซุ้มต่างๆ 
                เพื่อน  = ร่วมกิจกรรมตามซุ้มต่างๆอย่างสนุกสนาน
              อาจารย์ = ได้เปิดโอกาสให้เด็กได้ออกไปหาความรู้นอก                                      ห้องเรียน


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2


วันอังคาร ที่ 26 สิงหาคม 2557
  เวลาเข้าเรียน 14.10 - 17.30




   อาจารย์ได้อธิบายหน้าห้องเรียน 
1.การเรียนรู้  คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด 
2.พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอน

    ความรู้ที่ได้รับ
   - วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 
   - วิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร
   - ผู้ใหญ่ไม่เช้าใจเด็กจะเกิดอะไรขึ้น
   - วิธีทำ Mindmap ที่ถูกวิธี




การนำไปประยุกต์ใช้
                 นำวิธีการและเทคนิคไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมและแผนการสอนเด็กปฐมวัยที่เกี่ยวกับวิทยราศาสตร์ และศึกษาเนื้อหาเพื่มเติมเพื่อนำมาพัฒนาเด็กให้เหมาะสมตามวัย และความสนใจของเด็ก
การประเมินผล
              ตัวเอง   = ตั้งใจทำงาน และแสดงความร่วมแสดงความคิด                                 เห็นในชั้นเรียน
              เพื่อน    = ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน ไม่ส่งเสียงดัง และร่วม                                     ตอบคำถามในชั้นเรียน
              อาจารย์ = ยอมรับความคิดเห้็นของนักศึกษา และอธิบาย                                      เนื้อหาได้อย่างเข้าใจ ให้เทคนิคในการสอนที่                                      หลากหลาย