วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โทรทัศน์ครู

เรื่อง เรียนรู้นอกห้องเรียน กับโรงเรียนในป่า 
( Outdoor Learning with Forest School )
 

 
เด็กปฐมวัยในวัยนี้นอกจากเราจะสนับสนุนเด็กในเรื่องของพัฒนาการการเรียนรู้ทางด้านต่าง ๆ แล้วควรสนับสนุนนักเรียนให้มีความรักธรรมชาติ สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต และมีความกล้าแสดงออกโดยการให้เด็กๆไปทำกิจกรรมในป่าทุก 2 สัปดาห์ จะทำให้เด็กเกิด ความคิดริเริ่มในเรื่องของธรรมชาติเกิดการกล้าแสดงออกเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับเด็ก ซึ่งเป็นที่น่าสนับสนุนอย่างมากเพราะธรรมชาติกับเด็กเป็นของคู่กันเด็กสามารถเรียนรู้ผ่านธรรมชาติได้ดี ได้เรียนรู้สังเกตุศักยภาพด้านต่าง ๆ ของเด็ก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างทำกิจกกรมนอกห้องเรียนด้วย


 

สรุปวิจัย

สรุปงานวิจัย

งานวิจัยเรื่อง  การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ    การศึกษาระดับ   มหาบัณฑิต


ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร
บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
ประเด็นที่1         วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต
ประเด็นที่2 วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge basedsociety) คนทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ 
ประเด็นที่3     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูใช้ประสบการณ์การคิดและปฏิบัติ
ประเด็นที่4      เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความเชื่อว่า ทุกอย่างมีชีวิต(animism) มีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (purposivism) และชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า “ทำไม”

ประเด็นที่5    การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส (Sensory Motor) เป็นหลักการเรียนรู้(Piaget. 1969) สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์
ประเด็นที่6   แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบ วิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์ โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน
 
ความมุ่งหมายของการวิจัย


ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ดังนี้1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
2.เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ     วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีปรสิทธิภาพ
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

ตัวแปรในการวิจัย 

ตัวเเปรอิสระ/ตัวเเปรต้น คือ  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
ตัวเเปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้เเก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
                    1. สังเกต
                    2. จำเเนกประเภท
                    3. สื่อสาร
                    4. การลงความเห็น

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.   เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนชาย - หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ระดับอนุบาลศึกษา
2. การพัฒนา หมายถึง ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งประเมินโดยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
3.ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  หมายถึง ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการใช้ความคิด การค้นหาความรู้เพื่อหาคำตอบที่เป็นองค์ความรู้ได้ ในการวิจัยนี้จำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
       3.1 การสังเกต หมายถึง ความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์แล้วเด็กสามารถบอกลักษณะหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นได้
     3.2 การจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยมีเกณฑ์ที่ใช้ในการจำแนกประเภทอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความเหมือน ความแตกต่างและความสัมพันธ์
       3.3 การสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการบอกข้อความหรือเล่าให้ฟังถึงสิ่งที่ค้นพบจากการสังเกต การทดลอง เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง
       3.4  การลงความเห็น หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือสรุปความเห็นสิ่งที่ค้นพบหรืออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาหรือที่ได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกับการใช้เหตุผล
4. กิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง งานการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเพื่อให้เด็กได้ปฏิบัติการการเรียนรู้โดยจัดลำดับสาระตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ ของรศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ ที่นำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นให้เด็กได้ลงมือกระทำ ได้รับประโยชน์จริง ดังนี้
          ขั้นนำ เป็นขั้นการเตรียมเด็กเข้าสู่กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่จะเรียน
          ขั้นสอน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 จัดกิจกรรมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน และตอนที่ 2 ทำชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
     ขั้นสรุปเด็กร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่เด็กได้รับจากการเรียนเรื่องนั้นๆ
5. ชุดแบบฝึกทักษหมายถึง แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยเน้นการใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain - Based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัยที่ออกแบบโดย ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะจำนวน 4 เรื่อง คือ การสังเกต พืช สัตว์ และโลกของเรา



สมมุติฐานการวิจัย
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ มีการพัฒนา
ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน

บทที่ 3
ประชากร  ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2

วิธีดำเนินการวิจัย

การเลือกกลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน


                                 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้มีดังนี้
1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain -
Based Learning) ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ
3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์

การดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 10สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ และวันศุกร์ ในช่วงเวลา 08.00 - 11.30 น. ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ใช้สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10 ระยะเวลาในการประเมินจากเด็กจำนวน 15 คน ใช้เวลาในการทำแบบประเมินคนละ 5 ข้อ ข้อละ 2 นาที รวม10 นาที ต่อเด็ก 1 คน การประเมินในแต่ละวันให้เด็กทำตามการจำแนกรายด้าน
 
 
การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ ดังนี้
1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและจำแนกรายทักษะ โดยใช้ค่าแจกแจง t แบบ Dependent Samples

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาความเที่ยงตรงของแบบประเมินโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับพฤติกรรม (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 117) ดังนี้
2. หาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก
3. การหาค่าอำนาจจำแนกโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์ - ไบซีเรียล (Point biserial correlation)
4.  หาค่าความเชื่อมัน่ ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของด็กปฐมวัย โดยใช้สูตร KR - 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson)

สรุปผลการวิจัย
1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือทักษะการจำแนกประเภท
2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป 1. วิธีการเลือกชุดแบบฝึกทักษะ ควรพิจารณารูปภาพประกอบที่ดูเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเป็นภาพขนาดใหญ่ และภาพในหน้าด้านซ้ายกับด้านขวาของชุดแบบฝึกทักษะ ไม่ควรเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งมีคำชี้แจงหรือคำสั่งที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กสับสน เนื่องจากเด็กวัย 4 - 5 ปีบางคน ยังไม่รู้จักตัวเลขที่ระบุอยู่บนหน้ากระดาษของแบบฝึกทักษะ
2.ศึกษาชุดแบบฝึกทักษะเพื่อกำหนดหัวเรื่องตามมโนทัศน์ของแต่ละแบบฝึกทักษะที่จะนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชัดเจนก่อนการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะตามการวิจัยนี้ครูควรให้ความสำคัญในการวางแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ทั้งเนื้อหาสาระและพัฒนาการเด็ก
4. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะตามการวิจัย ครูจำเป็นต้องคิดและวางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับอายุและสิ่งที่เด็กควรรู้ตามหลักสูตรการศึกษาอย่างหลากหลาย โดยจัดอย่างเหมาะสมกับบริบททางสังคมของเด็ก และใช้แบบฝึกทักษะเป็นตัวทบทวนหรือย้ำการเรียนรู้

5. การจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดแบบฝึกทักษะต้องมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็กที่ทำกิจกรรม ซึ่งมีคำอธิบายในแต่ละเรื่องของแบบฝึกทักษะที่กำหนดไว้ให้เป็นต้นแบบแล้ว โดยเฉพาะสื่อของจริงมีความหลากหลายทางด้านรายละเอียดรูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส กลิ่น สี รสชาติ ซึ่งจะมีผลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี
6. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ครูต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยจัดให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยความคิด แสดงออก การทำกิจกรรมกลุ่ม ได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง และรู้ความก้าวหน้าของตนเอง

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป  1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการสอนที่ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะกับรูปแบบการสอนอื่นๆ ที่พัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.ควรมีการศึกษาการสอนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะด้านอื่นๆเช่น ด้านคณิตศาสตร์ ด้านภาษาไทย ด้านภาษาอังกฤษ ว่าสามารถส่งผลต่อตัวแปรด้านใดด้านหนึ่งของเด็กปฐมวัยหรือไม่

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป  3. ควรมีการศึกษาเชิงสำรวจเกี่ยวกับค่านิยมหรือความต้องการในการเลือกซื้อชุดแบบฝึกทักษะด้านต่างๆ มาสอนลูกที่บ้านของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
4. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบปกติกับการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วันอังคาร ที่ 2 ธันวาคม 2557
  เวลาเข้าเรียน 14.10 - 17.30
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
               วันนี้เป็นการออกมานำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครูสำหรับนักศึกษาทุกคนที่ยังไม่ได้ออกมานำเสนอ
 
  วิจัย(Research)
1.เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.เรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
3.เรื่อง ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการและแบบสืบเสาะหาความรู้
4.เรื่อง การคิดพิจารณาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
5.เรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
6.เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติที่มีการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 
โทรทัศน์ครู(Teachers)      
1.เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์
2.เรื่อง เสียงในการได้ยิน
3.เรื่อง จิตวิทยาศาสตร์
 
  ***จากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานให้ส่งท้ายคาบเรียน โดยจับกลุ่มๆล่ะ5คน ให้ทำแผ่นพับเรื่อง สายสัมพันธ์ครูและผู้ปกครอง เป็นการสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน
 
การนำไปประยุกต์ใช้(Applications)
 
      สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยมรผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวงแผนนั้นๆ และสามารถนำมาเป็นสื่อการสอนได้อีกด้วย เช่นการพับกระดาษ
 
 
การประเมินผล(Evaluation)
     ตนเอง (self)= ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ จดบันทึกตาม และร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนดี
     เพื่อน(friends)= ไม่ส่งเสียงดัง และสนใจในกิจกรรมดี
     อาจารย์(teacher)=แนะนำและบอกข้อแก้ไขในการนำเสนองาน และจัดหากิจกรรมที่น่าสนใจดีมาก
 
 
 

 
 
 
 

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วัน อังคาร ที่ 27 พฤศจิกายน 2557
เวลาเข้าเรียน 14.10 - 17.30 น.
 
ความรู้ที่ได้รับ
 
             สัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอ วิจัย และ โทรทัศน์ครู เรียงตามเลขที่ ออกมานำเสนอวันนี้ออกมานำเสนอทั้งหมด 6 คน
วิจัย(Research)
1.เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้เรื่องสีธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2.เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้
3.เรื่อง การพัฒนาทักษาพพื่นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร
 
โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
1.เรื่อง การกำเนินของเสียง
2.เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน
3.เรื่อง ไฟฟ้าและพรรณพืช
 
         จบจากการนำเสนอแล้ว อาจารย์ได้จัดกิจกรรมการทำอาหาร
                               กิจกรรม การทำ(Waffle)....
 
 เครื่องปรุง/ส่วนผสม
      
         1.ไข่
         2.เนย
         3.แป้งWaffle
         4.น้ำเปล่า
 
วิธีการทำ
1.เทแป้งWaffleลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้
         
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2.ใส้ไข่ไก่1ฟอง ตีให้เข้ากันกับแป้ง จนเป็นเนื้อเดียวกัน
 
 
 
3.ค่อยๆใส่น้ำเปล่าลงไปเล็กน้อยตีให้เข้ากันไม่ให้แป้งเหลวไปหรือข้นไป
 
 
4.ใสเนยลงไปแล้วคนให้เข้ากัน จนเป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด
 
 
5.ตักแป้งใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้แล้ว
 
6.ทาเนยลงบนเครื่องพิมพ์เพื่อไม่ให้แป้งติดเครื่อง
 
7.นำแป้งที่เตรียมไว้ ใส่ลงไปฝั่งละถ้วยครึ่ง จากนั้นก็พับเครื่องพิมพ์ลง รอให้สุก
 
8.Waffle ที่เสร็จแล้วพร้อมรับประทาน
 
 
การนำไปประยุกต์ใช้(Applications)
 
เราสามารถนำวิจัยและโทรทัศน์ครูไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อสฝึกทักษะทางวิทยาศาตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ และ การทำอาหารเราก็สามารถใช้เป็นสื่อหรือกิจกรรม การทดลองได้ทางวิทยาศาสตร์
 
การประเมินผล(Evaluation)
 
    ตนเอง (self)= ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอ จดบันทึกตาม และร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนดี
     เพื่อน(friends)= ไม่ส่งเสียงดัง และสนใจในกิจกรรมดี
     อาจารย์(teacher)=แนะนำและบอกข้อแก้ไขในการนำเสนองาน และจัดหากิจกรรมที่น่าสนใจดีมาก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
                   

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

วัน อังคาร ที่ 18 พฤศจิกายน 2557
เวลาเข้าเรียน 14.10 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

            วันนี้เป็นการนำเสนอต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว คืออีก3กลุ่มที่เหลือ
 
Group 6  หน่วยนกหงส์หยก (Jade bird)
 

 
Group 7  หน่วยสัปปะรด (Pine apple)
 
 
Group 8   หน่วยส้ม (Orange)
 

 
***จบจากการนำเสนอทุกกลุ่มเสร็จแล้ว อาจารย์ก็ได้จัดกิจกรรมการทำอาหาร คือ การทำทาโกยากิ
 
วัสดุ/อุปกรณ์
 
1.ไข่ไก่     
  2.ข้าวสวย        
 3.ผักต่างๆ (แครอท /ต้นหอม)         
 4.ปูอัด    
 5.ซอสปรุงรส        
 6.เนย 


  วิธีการทำ        


1.ตีไข่ใส่ชาม    
 2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี       
 3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ         
4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้ 
 
ภาพกิจกรรม

การนำไปประยุกต์ใช้(Applications)
        สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนในพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้และยังสามารถนำแผนการสอนของเพื่อนในหน่วยต่างๆมาใช้สอนเด็กได้อีกด้วย
 
การประเมินผล(Evaluation)  
         ตนเอง (self)= ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอแผน จดบันทึกตาม และร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนดี
        เพื่อน(friends)= ไม่ส่งเสียงดัง และสนใจในกิจกรรมดี
        อาจารย์(teacher)=แนะนำและบอกข้อแก้ไขในการนำเสนองาน และจัดหากิจกรรมที่น่าสนใจดีมาก


 

วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วัน อังคาร ที่ 11 พฤศจิกายน 2557
เวลาเข้าเรียน 14.10 - 17.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้เป็นการออกมาทดลองการสอนตามแผน หน่วยต่างๆ
 
     Group1 หน่วยผลไม้ 
     Group2 หน่วยนกหงษ์หยก 
     Group3 หน่วยข้าวโพด 
     Group4 หน่วยแตงโมง
     Group5 หน่วยกล้วย 
     Group6 หน่วยช้าง 
     Group7 หน่วยผีเสื้อ 
     Group8 หน่วยสัปปะรด
     Group9 หน่วยส้ม
 
**ในวันนี้ได้ออกไปนำเสนอ 6 กลุ่ม อีก3กลุ่ม เตรียมนำเสนอเป็นสัปดาห์หน้า
 
Group1 หน่วยผลไม้ (Fruit)
 
 
 
Group2 หน่วยแตงโม (Waitrmelon)
 
 
Group3 หน่วยข้าวโพด (corn)
 
 
Group3 หน่วยกล้วย (Banana)
 
 
Group4 หน่วยช้าง (Elephant)
 
 
Group5 หน่วยผีเสื้อ (Butterfly)