การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง
(Teaching Children about Gravity)
ผู้เขียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง
(อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)
การสอนลูกเรื่องแรงโน้มถ่วง (Teaching Children about Gravity) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับแรงที่โลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น ดึงวัตถุในทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุยึดติดกับพื้นโลก มิให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผิวโลกหรือบรรยากาศของโลกหลุดลอยไปในอากาศได้ ทั้งนี้ เด็กปฐมวัยมีนิสัยสงสัยใคร่รู้เป็นโดยธรรมชาติ การที่เด็กมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว และเกิดเรื่องราวให้ชวนคิด ชวนให้สงสัยมีมากมาย รวมทั้งคำถามว่า “อะไรที่ทำให้เรายืนอยู่บนพื้นโลกได้โดยไม่ปลิวหายไปในอากาศ” และ “มีใครบ้างที่อยู่ใต้พื้นโลก เขาหล่นหายไปหรือไม่” คำถามของเด็กมีคำ ตอบ แต่หากผู้ใหญ่บอกเล่าเพียงให้เด็กทราบว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีแรงโน้มถ่วง การบอกเช่นนั้นไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะเด็กบอกไม่เห็นแรงโน้มถ่วง แต่หากเด็กได้มีโอกาสตรวจสอบเรื่องนี้จากกิจกรรมง่ายๆ ที่ครูหรือพ่อแม่จัดให้เด็กได้กระทำ จนเกิดเป็นความเข้าใจในเหตุและเห็นผลสอดคล้องกัน จะเป็นการส่งเสริมความคิด ทัศนคติที่ดีและเกิดทักษะที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ต่อๆไปอีกให้แก่เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เด็กเรื่องแรงโน้มถ่วงจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้
จะช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรปฐมวัย คือการส่งเสริมให้เด็กเกิดพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ด้านร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสเรียนรู้
ด้านอารมณ์ ได้ รับการตอบสนองความต้องการและความสนใจของเด็ก
ด้านสังคม ได้มีกิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น รู้จักกฎ กติกา ระเบียบของสังคม
ด้านสติปัญญา รู้จักการคิดแก้ปัญหา การตัดสินใจและได้เรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ด้วยตนเอง
1.เด็กจะได้รับประสบการณ์เรื่องแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันของเด็ก จึงเป็นพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์
2.เด็กจะเกิดความตระหนักถึงคุณค่าของแรงโน้มถ่วง
3.เด็กจะได้รับการปลูกฝังคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จากการฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านเรื่องแรงโน้มถ่วง
ลองปรับโดยวางเมาส์ที่ชื่อเรื่องและคลิกขวาจะLinkไปที่บทความฉบับจริงนะคะ
ตอบลบอาจสรุปเป็นประเด็น และจัดวางที่ทำให้อ่านง่ายกว่านี้จะดีมากคะ